RSS

Artificial Intelligent

ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI)

Artificial Intelligence (AI) หมายถึงอุปกรณ์ที่ต้องรับคำสั่งเพื่อสามารถทำงานให้ได้อย่างรวดเร็วภายใต้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ หรือหมายถึงการทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้เรียนรู้ได้ทำงานได้เหมือนสมอมนุษย์ ซึ่งการทำงานมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการประมวลผลของสองมนุษย์ฉนั้นความสามารถของคอมพิวเตอรืทางด้านสติปัยยาและด้านพฤติกรรมจึงมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์

ความเป็นนวัตกรรม
เป็นนวัตกรรมระดับประเทศด้านผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์ที่สามารถสื่อสารและโต้ตอบกับมนุษย์ โดยใช้เทคโนโลยีการเคลื่อนที่ด้วยระบบนำร่องที่อาศัยการประมวลผลภาพและแถบเส้น ใช้ระบบควบคุมและการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย พร้อมทั้งอาศัยการเรียนรู้แบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligent; AI) เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเข้าใจภาษาและแสดงท่าทางตลอดจนสามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้

วัตถุประสงค์ของโครงการที่เสนอalepaint_stock_photo_2012-01-13_22-37-08

• ดำเนินการผลิตและพัฒนาต้นแบบ หุ่นยนต์อัจฉริยะ ภายใต้ชื่อเรียก “ดินสอ” ที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยทีมวิศวกรไทย เพื่อยกระดับธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์ในประเทศไทย

ลักษณะของความเป็น “นวัตกรรม” (Innovative feature)
• เป็นนวัตกรรมระดับประเทศด้านผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์ที่สามารถสื่อสารและโต้ตอบกับมนุษย์ โดยใช้เทคโนโลยีการเคลื่อนที่ด้วยระบบนำร่องที่อาศัยการประมวลผลภาพ การใช้ระบบควบคุมและการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย อาศัยการเรียนรู้แบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligent, AI) เพื่อใช้หุ่นยนต์สามารถเข้าใจภาษาและแสดงท่าทางตลอดจนสามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้

 

ความเป็นไปได้

ด้านเทคโนโลยี:

• ด้านกระบวนการผลิต : มีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากบริษัท CT Asia Robots จำกัด
มีทีมวิศวกรประสบการณ์สูงในการสร้างหุ่นยนต์

img_news10033-2

ภาพแสดงการออกแบบลักษณะหุ่นยนต์ “ดินสอ”

          • การสร้างแบรนด์และตราสินค้า (Branding) บริษัทได้เน้นการสร้างตราสินค้าและแบรนด์ “ดินสอ” โดยเน้นสร้างการรับรู้ของหุ่นยนต์ผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ พร้อมทั้งการดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและใช้ตราสินค้า

ด้านผลิตภัณฑ์:

          • มีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบทั้งในด้านวิศวกรรมและการออกแบบรูปร่างที่มีความทันสมัย โดยจ้างบริษัท ซัพพลายเออร์ ที่มีประสบการณ์ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนของหุ่นยนต์ “ดินสอ”

ประโยชน์และผลกระทบที่จะได้รับA55780BA8FDB45BE97FA1ADF9C3ABB72

ด้านเศรษฐกิจ:

          • สามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายหุ่นยนต์ โดยก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท และสามารถสร้างรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาทด้านสังคม

ด้านสังคม:

• สร้างให้เกิดการจ้างงานในประเทศเพิ่มขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของไทย

• สร้างตราสินค้าและอุตสาหกรรมการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหุ่นยนต์ในประเทศไทย

หุ่นยนต์ดินสอ

alepaint_stock_photo_2012-01-13_22-37-03ดินสอ (อังกฤษ: DIN SOW) เป็นหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ตัวแรกของประเทศไทย ผลิตโดยบริษัท ซีทีเอเซีย โรโบติกส์ จำกัด (CT-Asia Robotics Co.,Ltd) หุ่นยนต์ตัวนี้สร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างบริษัท ซีทีเอเซีย โรโบติกส์ กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มีเป้าหมายเพื่อทำหน้าที่ให้บริการมนุษย์ สามารถสื่อสารโต้ตอบกับมนุษย์ได้ โดยใช้เทคโนโลยีทางด้าน COMPUTATIONAL INTELLIGENCE ให้หุ่นยนต์จดจำภาษามือที่เป็นภาพเคลื่อนไหว สำหรับใช้สื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยิน โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เปิดตัวแก่สาธารณชนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552

       หุ่นยนต์ดินสอ รุ่น 2 ถูกพัฒนามาจากหุ่นยนต์ดินสอ รุ่น 1 ซึ่งเป็นหุ่นยนต์บริการตัวแรกของประเทศไทย: หุ่นยนต์ดินสอ 2 ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อให้มีประโยชน์ใช้สอยในการดูแลผู้สูงอายุ สามารถพัฒนาให้ปฏิบัติการได้หลายอย่าง ดังนี้

  1. แขนกลที่ออกแบบให้เลียนแบบกล้ามเนื้อแขนของมนุษย์ด้วยการใช้เส้นสลิงค์ในการควบคุมการเคลื่อนที่ซึ่งสามารถพับงอหมุนได้ 7 จุดต่อ 1 แขน สามารถทำการเสริฟ์อาหาร, หยิบสิ่งของ รวมถึงไหว้และโบกมือ
  2. สามารถทำการโทรออกไปยัง ผู้ที่ต้องการติดต่อได้พร้อมทั้งสามารถบันทึกรายชื่อผู้ที่ต้องการติดต่อไว้ในระบบฐานข้อมูลของหุ่นยนต์ดินสอรุ่น 2 ได้
  3. มีการติดตั้งนวัตกรรมใหม่ที่ชื่อ DinsowSpond ซึ่งเป็นระบบเรียกให้โทรกลับถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเรียกให้แพทย์หรือลูกหลาน ติดต่อกลับหาผู้สูงอายุได้อย่างรวดเร็ว

ที่สำคัญคือ สามารถทำงานโดยไม่มีวันหยุด และสามารถแบ่งเบาภาระการดูแลได้ 24 ชม. ผู้สูงอายุจะไม่ขาดการติดต่อหรือขาดการเฝ้าดูแลผู้สูงอายุไม่ว่าจะห่างกันเพียงใด ซึ่งหุ่นยนต์ดินสอถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติการได้หลายอย่าง อาทิ ทำงานเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ผู้สูงอายุสามารถโทรติดต่อหาลูกหลาน หรือโทรออกฉุกเฉินไปยัง สถานที่ต่างๆ  เช่น โรงพยาบาล คลินิคใกล้บ้าน สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง และมีระบบปฏิบัติการแบบ Real Time monitoring เชื่อม ต่อกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ Smart-phone, คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ผ่านระบบ internet ช่วยให้ลูกหลานสามารถดูแล และเห็นสภาพความเป็นไปของผู้สูงอายุจากที่ต่างๆได้

นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งอุปกรณ์เช็คสัญญาณชีพ Vital signs ส่งข้อมูลตรงไปยังแพทย์ผู้มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุรายนั้นๆโดยตรงเสมือนเป็นผู้ช่วยแพทย์ประจำบ้าน ช่วยให้แพทย์สามารถเก็บข้อมูลผู้สูงอายุได้โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางไปที่โรงพยาบาล รวมทั้ง สามารถวัดไข้ ตรวจลมหายใจ ความชื้น เฝ้าดูการหลับ ตรวจจุดกดทับ และวัดคลื่นหัวใจ กรณีที่คนไข้มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติจะมี Alert เตือนทันที  และยังสามารถโทรศัพท์ได้ โดยสามารถบันทึกรายชื่อผู้ที่ต้องการติดต่อในระบบฐานข้อมูลได้ ตลอดจน มีนวัตกรรมใหม่ที่ชื่อ DinsowSpond ซึ่งเป็นระบบเรียกให้โทรกลับเพื่อให้แพทย์หรือญาติผู้ป่วยสามารถติดต่อกลับได้อย่างรวดเร็วผ่านโทรศัพท์มือถือ iPhone และโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android  โดยหุ่นยนต์มินิมีขนาดเล็กกะทัดรัดสามารถตั้งโต๊ะได้ สะดวกในการเคลื่อนย้าย และเป็นเด็กผู้ชายเพื่อให้เหมือนกับบุตรหลานดูแลผู้สูงอายุ

หุ่นยนต์ดินสอ เป็นหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ มีเป้าหมายเพื่อทำหน้าที่ให้บริการมนุษย์ สามารถสื่อสารโต้ตอบกับมนุษย์ได้ โดยใช้เทคโนโลยีทางด้าน COMPUTATIONAL INTELLIGENCE ให้หุ่นยนต์จดจำภาษามือที่เป็นภาพเคลื่อนไหว สำหรับใช้สื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยิน โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย

สรุป : 

ข้อดี

1.สามารถทำงานโดยไม่มีวันหยุด และสามารถแบ่งเบาภาระการดูแลได้ 24 ชม

2.ทำงานเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ผู้สูงอายุสามารถโทรติดต่อหาลูกหลาน หรือโทรออกฉุกเฉินไปยัง สถานที่ต่างๆ

3.เสมือนเป็นผู้ช่วยแพทย์ประจำบ้าน ช่วยให้แพทย์สามารถเก็บข้อมูลผู้สูงอายุได้โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางไปที่โรงพยาบาล รวมทั้ง สามารถวัดไข้ ตรวจลมหายใจ ความชื้น เฝ้าดูการหลับ ตรวจจุดกดทับ และวัดคลื่นหัวใจ กรณีที่คนไข้มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติจะมี Alert เตือนทันที

4. โดยหุ่นยนต์มินิมีขนาดเล็กกะทัดรัดสามารถตั้งโต๊ะได้ สะดวกในการเคลื่อนย้าย

ข้อเสีย

1.สินค้าอาจมีราคาสูงเกินกำลังที่คนธรรมดาจะมีทุนทรัพย์ในการซื้อมาใช้

2. หุ่นยนต์ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตัวมันเองได้ เว้นแต่จะถูกติดตั้งข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการจะให้หุ่นยนต์ปฏิบัติตามความต้องการของผู้ใช้เอง ไม่สามารถทำเกินคำสั่งที่ถูกควบคุมไว้

3. อาจก่อให้เกิดอัตราการว่างงาน หากใช้แรงงานหุ่นยนต์แทนคน ทำให้คนตกว่างงานเพิ่มขึ้น

alepaint_stock_photo_2012-01-13_22-37-15

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กันยายน 12, 2013 นิ้ว Workshop 3

 

ป้ายกำกับ:

Gant Charts & PERT Charts

ข้อ 1

รูปภาพ1

กิจกรรมทบทวน

1. สร้าง Gant Charts

2. สร้าง PERT Charts

3. โครงการนี้ใช้เวลาทั้งหมดกี่วัน

4. เส้นทางวิกฤติประกอบด้วยกิจกรรมใดบ้าง

                                                                     

1. สร้าง Gant Charts

G111)   C  >  A >  D > F        = 2 + 5 + 5 + 5     = 17

2)   B  >  E  > F              = 3 + 5 + 5           = 13

3)    C  >  A  > D              = 2 + 5 + 8           = 15

4)     B  >  D                     = 3 + 8                 = 11

2. สร้าง PERT Charts

P1

3. โครงการนี้ใช้เวลาทั้งหมดกี่วัน

* ใช้เวลาทั้งหมด 17 วัน

4. เส้นทางวิกฤติประกอบด้วยกิจกรรมใดบ้าง

* C >  A  >  D >  F     = 2 + 5 + 5 + 5   = 17

ข้อ 2

รูปภาพ2

กิจกรรมทบทวน

1. สร้าง Gant Charts

2. สร้าง PERT Charts

3. โครงการนี้ใช้เวลาทั้งหมดกี่วัน

4. เส้นทางวิกฤติประกอบด้วยกิจกรรมใดบ้าง

1. สร้าง Gant Charts

capture-20130811-154618

            1)    B  >  C  >    E   >    F            = 8 + 4 + 20 + 5     = 37

           2)    B  >  C  >    D   >    F            = 8 + 4 + 4 + 5       = 21

           3)    A  >  G  >    H   >     I  >  J      = 10+2+5+3+8       = 28

2. สร้าง PERT Charts

P2

3. โครงการนี้ใช้เวลาทั้งหมดกี่วัน

* ใช้เวลาทั้งหมด 37 วัน

4. เส้นทางวิกฤติประกอบด้วยกิจกรรมใดบ้าง

* B  >   C    >   E    >   F       =  8 + 4 + 20 + 5    = 37

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน สิงหาคม 11, 2013 นิ้ว Wrokshop 2

 

ระบบ EIS

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems :EIS )

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) 
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

คุณสมบัติของระบบ EIS
– มีการใช้งานบ่อย
– ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
– ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหารeis_home1
– การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
– การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
– ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
– การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
– ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด

ข้อดีของระบบ EIS
1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น

ข้อด้อยของระบบ EIS
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน
2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล

หน้าที่ของ EIS

1. ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ โดยประเมินและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ
ได้อย่างรวดเร็วและนำสารสนเทศที่รูปภาพ5ถูกต้องเป็นปัจจุบันมีความรวดเร็วและช่วยในการพิจารณาสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งทดสอบว่ากลยุทธ์ที่กำหนดได้ผลหรือไม่
(Stair & Reynolds, 1999)
2. ช่วยในการควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strategic control) ซึ่งเกี่ยวกับการติดตาม และการจัดการการปฏิบัติของ  องค์การโดยการสร้างกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิผลโดยการระบุปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหา โอกาส หรือการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะช่วยให้กระบวนการทำงานลื่นไหลไปได้ด้วยดี (Stair & Reynolds, 1999)
3. การสร้างเครือข่าย (Networks) เครือข่ายในที่นี้ หมายถึงบุคคลต่างๆ ทำงานร่วมกันในการบรรลุจุดมุ่งหมาย เครือข่ายนี้จะช่วยทำให้สารสนเทศที่เกี่ยวกับความคิดเห็นข้อสังเกต ข้อมูลหรือการเตือนภัยล่วงหน้าไหลติดต่อระหว่างสมาชิกในเครือข่าย
4.ช่วยในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ระบบยังสามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่งทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศรวมทั้งสามารถในการจัดหาสินค้าของซัพพลายเออร์
5. ช่วยในการจัดการกับวิกฤต (Crisis management) แม้ว่าหน่วยงานจะมีการวางแผนกลยุทธ์ดีเพียงไร แต่บางครั้งวิกฤตที่ไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นได้ การจัดการวิกฤตเป็นหน้าที่ของผู้บริหารโดยตรง (Stair & Reynolds, 1999)

ความสามารถทั่วไปของ EIS

1. การเข้าถึงดาต้าแวร์เฮาต์ (Data Warehouse) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ ประกอบด้วยฐานข้อมูลจากงานในระดับปฏิบัติการ เช่น วัสดุคงคลัง และฐานข้อมูลภายนอก เช่น ลักษณะของประชากร

2. การใช้ความสามารถในการเจาะข้อมูล (Drill down) กล่าวคือ EIS จะประกอบด้วยการสรุปสารสนเทศเพื่อให้ผู้บริหารสามารถเจาลึกเพื่อกาสารสนเทศในรายละเอียดอีกครั้ง ดังนั้นการเจาะข้อมูลหมายถึง ความสามารถในการให้รายละเอียดของสารสนเทศ เช่น หากผู้บริหารสังเกตเห็นการลดลงของยอดขายในรายงานประจำสัปดาห์ผู้บริหารอาจต้องดูรายละเอียดของยอดขายในแต่ละภาคเพื่อต้องการหาเหตุผล ถ้าข้อมูลแสดงว่าภาคใดภาคหนึ่ง มีปัญหา ผู้บริหารอาจจะเจาะลงในรายละเอียดของการขายสินค้าแต่ละผลิตภัณฑ์ หรือยอดขายของพนักงานขายแต่ละคนก็ได้ การเจาะลึกของข้อมูลอาจทำได้ต่อเนื่องกันหลายระดับของข้อมูล การเจาะลึกดังกล่าวผู้บริหารสามารถทำไดเองโดยไม่จำเป็นองปรึกษากับโปรแกรมเมอร์แต่อย่างใด

 3. การนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่มีความยืดหยุ่น ระบบ EIS จะมีการรายงานซึ่งมีความยืดหยุ่นกว่าระบบ MRS มาก กล่าวคือ ระบบ MRS จะมีการกำหนดสารสนเทศไว้ล่วงหน้า แต่ EIS จะเริ่มจากสิ่งที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า และยังมีรูปแบบรายงานต่างๆ ให้ผู้บริหารได้เลือกอีก (แนวคิดเดียวกับแบบ drill down) ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถ ได้ทราบสารสนเทศในเชิงลึกมากขึ้น และบางครั้งถึงกับออกแบบในลักษณะกราฟฟิคเอาไว้ด้วย ลักษณะการนำเสนอในแบบนี้เป็นข้อแตกต่างของ MRS และ EIS

 4.การเข้าถึงสารสนเทศที่หลากหลาย ระบบ EIS ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึง สารสนเทศได้ทุกประเภท ทั้งสารสนเทศจากภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์การด้วย

5. การใช้โมเดลในการวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend analysis) การวิเคราะห์ข้อมูลอาจจำเป็นต้องทราบแนวโน้มในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในข้อมูล การวิเคราะห์แนวโน้มจะทำได้โดยใช้โมเดลการพยากรณ์ การวิเคราะห์แนวโน้ม เช่น ยอดขายจะมีการเพิ่มขึ้นหรือไม่ ส่วนแบ่งการตลาดจะลดลงหรือไม่

TreamWork01
 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กรกฎาคม 14, 2013 นิ้ว Workshop 1

 

ป้ายกำกับ:

ระบบ MIS

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (Management Information System : MIS )   

       MIs-logoระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (MIS) หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เราจะเห็นว่า MISจะประกอบด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการ 
              

1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การมาไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ

            2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร

       MIS คือ เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการจัดการข้อมูลที่มีลักษณะการทางานที่เป็นประจำ และมุ่งเน้นที่การใช้ข้อมูล
ของผู้บริหารระดับกลาง  ดังนั้นถ้าระบบใดประกอบด้วยหน้าที่หลักสองประการ ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่หลักทั้งสองได้อย่างครบถ้วน และสมบูรณ์ ระบบนั้นก็สามารถถูกจัดเป็นระบบ MIS ได้ ระบบ MIS ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ MIS อาจสร้างขึ้นมาจากอุปกรณ์อะไรก็ได้ แต่ต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่หลักทั้งสองประการได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ แต่เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer ) จึงออกแบบระบบสารสนเทศให้มีคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการจัดการสารสนเทศ

ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มี 3 ส่วน คือ images (1)

    1. เครื่องมือ ในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MIS และช่วยให้ระบบสารสนเทศดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกเครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศไว้   2 ส่วน คือ

        1.1. ฐานข้อมูล (Data Base)

             ฐานข้อมูล จัดเป็นหัวใจสำคัญของระบบ MIS เพราะว่าสารสนเทศที่มีคุณภาพจะมาจากข้อมูลที่ดี เชื่อถือได้ ทันสมัย และถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นฐานข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้ระบบสารสนเทสมีความสมบูรณ์ และปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ      

       1.2. เครื่องมือ (Tools )

         เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ปกติระบบสารสนเทศจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็น อุปกรณ์หลักในการจัดการข้อมูล ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนสำคัญต่อไปนี้
1.2.1 อุปกรณ์ (Hardware) คือ ตัวเครื่องหรือส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย
1.2.2 ชุดคำสั่ง (Software) คือ ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่รวบรวม และจัดการ เก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการ บริหารงาน หรือการตัดสินใจ

2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล 
การที่จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จะต้องมีการจัดลำดับ วางแผนงานและวิธีการประมวลผลให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือสารสนเทศที่ต้องการ 

3. การแสดงผลลัพธ์
เมื่อข้อมูลได้ผ่านการประมวลผล ตามวิธีการแล้วจะได้ สารสนเทศ หรือMIS เกิดขึ้น อาจจะนำเสนอในรูป ตาราง กราฟ รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมีประสิทธิภาพ จะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และลักษณะของการนำไป ใช้งาน

 

คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล (Data Manipulation) 
ระบบสารสนเทศที่ดีต้องสามารถปรับปรุงแก้ไขและจัดการข้อมูล เพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ปรกติข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าสู่ MIS ควรที่จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนารูปแบบ เพื่อให้ความทันสมัยและเหมาะสมกับการใช้งานอยู่เสมอ

2. ความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security)
ระบบสารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างขององค์การ ถ้าสารสนเทศบาง
ประเภทรั่วไหลออกไปสู่ บุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งขัน อาจทำให้เกิดความเสียโอกาสทางการแข่งขัน หรือสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการก่อการร้ายต่อระบบ จะมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพและความเป็นอยู่ขององค์กร

3. ความยืดหยุ่น (Flexibility) 
สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจหรือสถานการณ์การแข่งขันทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบสารสน เทศที่ดีต้องมีความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานหรือปัญหาที่เกิดขึ้น โดยที่ระบบสารสนเทศที่ถูกสร้างหรือถูกพัฒนาขึ้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริหารได้อยู่เสมอ โดยมีอายุการใช้งาน การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

4. ความพอใจของผู้ใช้ (User Satisfaction)
ปรกติระบบสารสนเทศ ถูกพัฒนาขึ้น โดยมีความมุ่งหวังให้ผู้ใช้สามารถนำมาประยุกต์ในงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ งาน ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องกระตุ้นหรือโน้มน้าวให้ผู้ใช้หันมาใช้ระบบให้มากขึ้น โดยการพัฒนาระบบต้องทำการพัฒนาให้ตรงกับความต้องการ และพยายามทำให้ผู้ใช้พอใจกับระบบ เมื่อผู้ใช้เกิดความไม่พอใจกับระบบ ทำให้ความสำคัญของระบบลดน้อยลงไป ก็อาจจะทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนได้

ลักษณะของข้อมูล หรือ สารสนเทศ

      MIS จำแนกตามระดับของผู้บริหาร มีลักษณะเป็นรูป ปิรามิด แบ่งออกเป็น 4 ชั้น

triangle

ชั้นที่ 4 กำหนดนโยบาย   สารสนเทศ เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในองค์กร ( ปริมาณ ข้อมูล ต่ำ )
ชั้นที่ 3 เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ หรือ จัดสรร งบประมาณ ให้แก่หน่วยงานย่อยต่าง ๆ
ชั้นที่ 2 ปริมาณข้อมูลน้อยลง ผู้บริหารใช้ สารสนเทศ ของตนเอง
ชั้นที่ 1 ดำเนินงานประจำ ( Routine ) เกิดข้อมูลมากมาย เป็นฐานของ สารสนเทศ ระดับสูง

ตัวอย่างโปรแกรม :ตัวอย่างการใช้โปรแกรม

ที่มา:   http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5028112/article3.html                    

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กรกฎาคม 14, 2013 นิ้ว Workshop 1

 

ป้ายกำกับ:

ระบบ DSS

DSS คืออะไร?

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS )

DSS        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือ DSS เป็นซอฟต์แวร์หรือตัวโปรแกรมที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การ
รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อนภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน DSS ยังเป็นการประสานการทางานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทาโต้ตอบกัน
เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอน

DSS เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจโดยเฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน มีความยืดหยุ่นในการทางาน และสามารถที่จะตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว

ระบบ DSS เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาโดยคาดหวังว่าผู้ใช้โดยทั่วไป สามารถเรียนรู้ได้และนำไปปฏิบัติได้ โดยไม่จาเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น
–  โปรแกรม โลตัส 1-2-3
–  MS- Excel, MS-Word
–  MS-PowerPoint

นอกจากนั้นยังสามารถแสดงผลในรูปของข้อความ (Text) รูปภาพ (Graphics) และตัวเลข (Numeric) ได้

ดาวน์โหลด ดาวน์โหลด (1) images

วัตถุประสงค์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

–  การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง (Semistracture and Unstructured Decisions)

–  ความสามารถในการปรับปรุงความต้องการที่เปลี่ยนไป (Ability to adapt changing needs)

–  ง่ายต่อการเรียนรู้และนามาใช้ (Ease of learning and use)

การตัดสินใจ (Decision Making) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ

 1.การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence) เป็นขั้นตอนที่รับรู้และตระหนักถึงปัญหาหรือโอกาสที่เกิดขึ้น ทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา นำข้อมูลมาวิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อแยกแยะและกำหนดรายละเอียดของปัญหาหรือโอกาส

2.การออกแบบ (Design) เป็นขั้นตอนของการพัฒนาและวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้ รวมถึงการตรวจสอบและประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้ตัวแบบเพื่อสร้างทางเลือกต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา หรือออกแบบหนทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

 3.การคัดเลือก (Choice) ผู้ตัดสินใจจะเลือกแนวทางเลือกที่เมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์มากที่สุด โดยอาจใช้เครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ คำนวณค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนของแต่ละแนวทางเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้เลือกแนวทางที่ดีที่สุด

powerpoint2007_smartart 

       4.การนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติและ คิดตามผลของการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้องประการใด จะต้องแก้ไข้หรือปรับปรุงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร

 

 

 

ระดับของการตัดสินใจภายในองค์การ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 

– ระดับกลยุทธ์
– ระดับยุทธวิธี
– ระดับปฏิบัติการ

decision

ประเภทของการตัดสินใจ มี 3 ประเภท ได้แก่

 – โครงสร้าง

– กึ่งโครงสร้าง

– ไม่มีโครงสร้าง

ส่วนประกอบของระบบ DSS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน

sup_dss

 โครงสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

อุปกรณ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
– อุปกรณ์ประมวลผล คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มินิคอมพิวเตอร์
– อุปกรณ์สื่อสาร ประกอบด้วย ระบบสื่อสารต่าง ๆ
– อุปกรณ์แสดงผล จอภาพที่มีประสิทธิภาพ และความความละเอียดสูง

กระบวนการทางาน
   – ฐานข้อมูล (Database) ไม่มีหน้าที่สร้าง หรือค้นหา หรือปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลแต่มีฐานข้อมูลของตัวเอง ที่รวบรวมข้อมูลสาคัญที่รอการประมวลผลประกอบการตัดสินใจ
  – ฐานแบบจาลอง (Model Base) ที่รวบรวมแบบจาลองทางคณิตศาสตร์และแบบจาลองในการวิเคราะห์ปัญหาที่สาคัญ แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการนาไปใช้
  – ระบบชุดคาสั่ง (DSS Software system) เป็นส่วนสาคัญที่ช่วยอานวยความสะดวกในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลและฐานแบบจาลอง

 – ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สาคัญอีกส่วนหนึ่งของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยและได้รับการออกแบบระบบการทางานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับการใช้งาน
 – ข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพ ก็ไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม
– มีปริมาณพอเหมาะแก่การนาไปใช้งาน
– มีความถูกต้องทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการexcel1
– สามารถนามาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน

         บุคลากร เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่กาหนดปัญหาและความต้องการ การพัฒนา ออกแบบ และการใช้ บุคลกรที่เกี่ยวกับกับ DSS แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
          – ผู้ใช้ (end-user) เป็นผู้ใช้งานโดยตรงของ DSS ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจที่ต้องการข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
         –  ผู้สนับสนุน DSS (DSS supporter) ได้แก่ ผู้ควบคุมดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้จัดการข้อมูลและที่ปรึกษาเกี่ยวกับระบบ

คุณสมบัติของ DSS

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทาให้ DSS ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ปัญหา โดยนำข้อมูลที่จะเป็นแบบจำลองในการตัดสินใจ

01_Word2007Screen                     

– สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

– ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน

– มีข้อมูล สนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของปัญหา

– สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง

– มีความยืดหยุ่นต่อความต้องการของผู้ใช้

ที่มา: http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/107/

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กรกฎาคม 14, 2013 นิ้ว Workshop 1

 

ป้ายกำกับ:

ระบบ TPS

ะบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems :TPS)images

      ระบบประมวลผลรายการ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการ ออกมาได้ รายการ (Transaction) คือ การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ดและการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง จัดเป็นรายการทั้งสิ้น ระบบประมวลผลรายการนิยมใช้ในการประมวลผลบัญชี, การขาย, หรือประมวลผลข้อมูลสินค้าคงคลัง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของระบบสารสนเทศอื่นๆในองค์กร

ในการดำเนินการของระบบประมวลผลรายการ ข้อมูลถูกนำเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของระบบสารสนเทศ โดยใช้แป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จนกระทั่งพร้อมที่จะถูกประมวลผล หลังจากที่ข้อมูลถูกป้อนเข้าไปแล้ว จะเกิดการประมวลผลเพื่อเปลี่ยนข้อมูลเป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการจัดการ โดยระบบประมวลผลรายการจะทำการบันทึกรายการลงในฐานข้อมูลและผลิตเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายการนั้นออกมา อาจอยู่ในรูปแบบของรายงาน, ตาราง, กราฟ,ภาพเคลื่อนไหว และเสียงฯลฯ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศนั้นๆ

ระบบประมวลผลรายการสามารถแบ่งตามวิธีการประมวลผลข้อมูล ได้แก่

     1. ระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing System) ข้อมูลจากหลายๆรายการ จากผู้ใช้หลายๆ คน หรือจากช่วงเวลาหลายๆ ช่วง ถูกรวมเข้าด้วยกัน, นำเข้า และประมวลผลเหมือนเป็นกลุ่มเดียว ตัวอย่างเช่น ยอดขายรายวันซึ่งถูกประมวลผลเพียงวันละหนึ่งครั้ง จะใช้ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มนี้เมื่อข้อมูลไม่จำเป็นต้องปรับปรุงทันที และเมื่อมีข้อมูลจำนวนมากที่คล้ายกัน ต้องถูกประมวลผลในครั้งเดียวกัน

 2. ระบบการประมวลผลแบบออนไลน์ (Online Processing System) รายการถูกประมวลผลเมื่อเกิดรายการนั้นขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

2.1 การประมวลผลเชิงรายการ (Transactional Processing) ข้อมูลถูกประมวลผลเมื่อป้อนข้อมูลเข้าโดยไม่ต้องเก็บไว้ประมวลผลในภายหลัง เช่น ระบบเช็ครายการสินค้าออกของร้านขายของชำ โดยระบบจะทำการออกใบเสร็จรับเงินที่แสดงรายการสินค้าทันทีหลังจากรายการสินค้าต่างๆ ที่ซื้อ ถูกประมวลผล

2.2 การประมวลผลแบบทันที (Real-time Processing) ใช้ในระบบควบคุม หรือระบบที่ต้องการให้เกิดผลสะท้อนกลับ เช่นขบวนการควบคุมอุณหภูมิของห้างสรรพสิน การทำงานของการประมวลผลแบบทันที สามารถไปมีผลกระทบกับตัวรายการนั้นๆ เอง ถ้าผู้ใช้หลายรายแข่งขันกันเพื่อใช้ทรัพยากรเดียวกัน เช่นที่นั่งบนเครื่องบิน หรือในชั้นเรียนพิเศษ

18 (1)วัตถุประสงค์ของ TPS
1. มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
2.เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว
3. เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้
4. เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS

หน้าที่ของ TPS มีดังนี้
      1. การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
     2. การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

  3. การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
  4. การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกระทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
  5. การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป

ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS มีดังนี้
• มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
• แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนในการป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง
• กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์
• มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
• มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
• TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
• ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data)
• ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย
• มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
• ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง

กระบวนการของ TPS
กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ (Stair & Reynolds, 1999)

1. Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดยการรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)
2. Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผลและทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง
3. Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1 และ2 โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันทีแต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)

1244705422

 

ตัวอย่างโปรแกรม: โปรแกรมเงินเดือนพร้อมใช้

     การคำนวณเงินเดือนและงานบุคคล การจัดพิมพ์หรือเขียนเอกสารส่งสรรพากร และประกันสังคม ที่ต้องทำทุก
เดือน  iMoneys Payroll ช่วยคุณได้ ด้วยการออกแบบโปรแกรมให้ใช้ง่าย และเพียบพร้อมด้วยความสะดวกสบายต่างๆ ที่เตรียมไว้ให้สำหรับงานคำนวณเงินเดือนค่าแรง งานบุคคล และงานเอกสารต่างๆ ที่ต้องนำส่งราชการ

รูปภาพ1สวยงามน่าใช้และเข้าใจง่าย
      จากการออกแบบให้โปรแกรมดูสวยงามเข้าใจง่าย พร้อมด้วย การออกแบบ icon ให้สื่อความหมายในตัวเอง และการวางตำแหน่งเป็นหมวดหมู่ ตามการทำงานจริง เมื่อคุณเปิดโปรแกรมใช้ในครั้งแรก สามารถเข้าใจในวิธีการใช้งานเมนูต่างๆได้ในเวลาอันรวดเร็ว

เลขบอกขั้นตอนการทำงาน
     ได้เพิ่มหมายเลขกำกับ ไว้ที่ icon ของแต่ละเมนูอีกด้วยเพื่อบอกให้ทราบถึงลำดับการทำงานของแต่ละเมนูเพียงทำตามลำดับหมายเลขก็จะได้ขั้นตอนที่ถูกต้อง รายงานเป็นสี รูปแบบสวยงามและดูง่าย ด้วยรายงานที่เป็นสีสันสดใส ดูง่ายสบายตา ทันสมัย และยังพิมพ์ได้เร็วขึ้นด้วย เพราะพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ InkJet หรือ Laser สีได้อย่างสวยงาม

 

พิมพ์บัตรพนักงานที่มีรูปภาพพร้อมรหัสบาร์โค้ด

รูปภาพ3

        เลือกพิมพ์บัตรพนักงานจากรูปแบบที่โปรแกรมมีให้เลือก อย่างหลากหลาย สีสันและหลายรูปแบบ พร้อมภาพพนักงานและรหัสบาร์โค้ดลงบนบัตรให้ด้วย

 

 

 

มีสลิปเงินเดือนหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้
    มีสลิปเงินเดือนอีกหลายรูปแบบ ที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้พร้อมใช้อีกด้วย โดยสามารถพิมพ์บนกระดาษเปล่า ได้เลย ไม่ต้องสั่งรูปภาพ4พิมพ์สลิปสำเร็จรูปให้สิ้นเปลือง

ระบบ Auto Backup
    ข้อมูลสำคัญจะไม่สูญหายไปไหน ด้วยระบบ Auto Backup
ของโปรแกรม ซึ่งจะคอยสำเนาข้อมูลเก็บไว้ให้ทุกวัน และก่อนการทำงานในขั้นตอนสำคัญที่จะมีผลกับข้อมูลของคุณ

ระบบ Auto Update โปรแกรมสดใหม่ส่งตรงถึงคุณทันที
   เพียงมี nternet ต่อเชื่อมอยู่ โปรแกรมจะตรวจสอบ Version ใหม่ล่าสุดให้ทุกครั้งที่เข้าโปรแกรม และถ้ามี Version ใหม่ออกมา ก็จะติดตั้งและ Update ให้ทันที

 

 

ใช้งานได้ทั้งแบบเครื่องเดียวหรือแบบหลายเครื่องพร้อมกัน
    ไม่ว่าธุรกิจจะมีขนาดไหนก็ตามสามารถมั่นใจได้ว่า iMoneys Payroll จะสามารถรองรับการขยายตัวตามธุรกิจได้อย่างไม่มีปัญหา ตั้งแต่เริ่มจากเครื่องๆ เดียวไปจนถึงระบบเครือข่าย (LAN) ก็ยังใช้โปรแกรม iMoneys Payroll ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด

 

คุณสมบัติที่มีให้อย่างให้ครบถ้วน

พิมพ์ ภงด.1 ภงด.91 และฟอร์มประกันสังคม ส่งได้ทันที
สามารถพิมพ์ฟอร์มต่างๆ ทุกฟอร์มที่ต้องส่งสรรพากรและประกันสังคม ทั้งใบปะ
หน้า และใบแนบได้ทันทีที่ต้องการ โดยไม่ต้องกรอกแบบฟอร์มแม้แต่บรรทัดเดียวรูปภาพ5

เก็บประวัติพนักงานได้อย่างละเอียด
    iMoneys Payroll ได้เพิ่มในส่วนของการจัดเก็บประวัติต่างๆ ของพนักงานแต่ละคน ไว้ให้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นประวัติ
การศึกษา ประวัติการฝึกอบรม ประวัติการปรับเงินเดือนและตำแหน่ง ประวัติการทำงาน พร้อมด้วยรายงานต่างๆ อย่างครบถ้วน

รองรับการเบิกเงินล่วงหน้า เงินกู้ และผ่อนจ่าย
    การเบิกเงินล่วงหน้า เงินกู้ และการผ่อนจ่ายเงินกู้ยืม iMoneys Payroll จึงได้เตรียมส่วนนี้ไว้ให้ โดยจะเก็บ
ยอดเงินที่ให้พนักงานเบิกล่วงหน้า หรือ สัญญาเงินกู้ยืมบริษัท และหักเงินผ่อนจ่ายทุกๆ เดือนให้จนกว่าจะครบ พร้อมด้วยประวัติการผ่อนจ่ายทุกงวด

รองรับงวดการจ่ายเงินเดือนที่แตกต่างกันได้
เช่น พนักงานรายวัน จ่ายเงินเดือนละ 4 ครั้ง และพนักงานรายเดือน จ่ายเงินเดือนละครั้ง โปรแกรมก็รองรับพร้อมกันได้อย่างสบาย พร้อมทั้งคำนวณรายได้และภาษีให้ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว

 

ระบบรักษาความลับที่มั่นใจได้

รูปภาพ6กำหนดสิทธิ์การใช้งานและรหัสผ่านได้ทุกเมนู
ทุกหน้าจอ และทุกรายงาน
     ข้อมูลเงินเดือนถือเป็นความลับสำคัญของทุกบริษัท แต่การบันทึกข้อมูลเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับคนหลายๆ คน ด้วยระบบการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน ของโปรแกรมที่ให้กำหนดสิทธิ์ ให้กับผู้ช่วยแต่ละคน ในการทำงานแต่ละเมนู แต่ละหน้าจอและทุกๆ รายงานได้อย่างละเอียด ตั้งแต่การเข้าถึงข้อมูล การดูข้อมูล จนถึงการแก้ไขข้อมูล
กำหนดสิทธิ์ให้บันทึกข้อมูลโดยไม่ให้เห็นจำนวนเงิน
นอกจากสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลแล้ว ยังกำหนดให้เห็นหรือไม่ให้เห็น จำนวนเงินที่
เป็นความลับได้อีกด้วย

 

ที่มา : http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5028112/organization1.html

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กรกฎาคม 14, 2013 นิ้ว Workshop 1

 

ป้ายกำกับ:

ระบบ SCM

ระบบ SCM คืออะไร

กระบวนการ Supply Chain Management หรือ SCM เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบimagesสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบ ให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย

กระบวนการ Supply Chain Management มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์การยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น

Supply Chain Management  (SCM)  คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน

logisticsAndSCM

ผังการทำงานในระบบ Supply Chain Management

x

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาและการนำเอาการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานมาใช้ 

• การแข่งขันที่รุนแรง (Intense Competition)
• การกลายเป็นโลกาภิวัตน์ (Globalisation)
• ความไม่แน่นอน (Uncertainty)
• การขาดความไว้ใจซึ่งกันและกัน (Trust)
• การขาดการประสานและความร่วมมือกัน (Coordination & Cooperation)
• ไม่มีการแชร์หรือแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน (Share common information)

องค์การจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 

• การทำกำไรในปัจจุบันทำได้ยากขึ้น ในอนาคตองค์การอาจต้องมีการจัดการผลกำไรอย่างเจาะจงตามประเภทลูกค้า และสินค้า และมองหาโอกาสในการสร้างกำไรในอนาคตระยะยาว

• ผู้นำองค์การในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับการสร้างพันธมิตร ในอนาคตการพัฒนาองค์การจะเป็นไปในลักษณะของการสร้างเครือข่าย (Networking Organization)

• การทำงานของบุคลากรจะเน้นการทำงานได้หลากหลาย ทำงานข้ามวัฒนธรรม และได้รับค่าตอบแทนตามผลงาน และให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของร่วม

• ช่องทางธุรกิจใหม่ ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงและเปิดโอกาสทางธุรกิจ ช่องทางดั้งเดิมกำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อรักษาสภาพทางการตลาด มีการกำหนดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และช่องทางใหม่มีการรวบรวมคนกลางและกำหนดการลงทุนธุรกิจใหม่

•  การมีช่องทางมากขึ้น กระแสโลกาภิวัตน์ การมีลูกค้าที่หลากหลาย จำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น เหล่านี้ทำให้การบริหารองค์การทำได้ยากขึ้น ทำให้องค์การเข้าสู่การเป็นองค์การขยาย และเน้นการตอบสนองลูกค้าเป็นราย ๆ

• คุณภาพถือเป็นสิ่งบังคับที่ต้องมีอยู่แล้วลูกค้าไม่ต้องการสินค้าหลากหลายแต่ต้องการสินค้าที่เหมาะกับตน         องค์การจะต้องเน้นการทำตลาดเจาะจงโดยใช้แหล่งวัตถุดิบร่วมกัน รวมทั้งเน้นการผลิตสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้น

ประโยชน์ของการบริหารห่วงโซ่อุปทาน

1. เสริมสร้างความสามารถในการบริหารและการแข่งขันของสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน
2. ส่งเสริมการเติบโตและความยั่งยืนของธุรกิจ
3. สมาชิกในห่วงโซ่อุปทานปรับระบบการทำงานให้สอดคล้องกัน
4. แบ่งปันข้อมูลที่จำเป็นเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน
5. ใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน

แนวคิดการบริหารห่วงโซ่อุปทาน

1. เปลี่ยนจากการทำงานตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละผ่ายเป็นการทำงานร่วมกันเป็นกระบวนการ
2. เปลี่ยนเป้าหมายที่กำไรเป็นการทำงานที่มีเป้าหมายหลายด้าน
3. เปลี่ยนจากการมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์เป็นการมุ่งเน้นลูกค้า
4. รักษาปริมาณสินค้าคงคลังในระดับที่เหมาะสม และสามารถสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้สูงที่สุดโดยใช้ระบบสารสนเทศเชื่อมโยงและแจ้งข้อมูลได้ทันที
5. สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยธุรกิจต่างๆ ประกอบการติดต่อด้วยสัญญาทางการค้า ใบสั่งสินค้า หรือการเจรจาทางการค้า

ตัวอย่าง : โปรแกรมระบบการประยุกต์scm-system

โปรแกรมระบบการประยุกต์ งานขององค์กร คน เทคโนโลยี กิจกรรม ข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากรต่างๆ จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค อย่างครบวงจร

เป็นระบบการจัดการกลุ่มของกิจกรรมงาน กล่าวคือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก Supplier แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบนั้นให้เป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้นสุดท้าย จนกระทั่งจัดส่งสินค้าให้ แก่ลูกค้าผู้ส่งมอบ (supplies),โรงงาน และ ลูกค้า

SCM SOLUTION:

scm-solution

รายละเอียดระบบวางแผนจัดการด้าน Logistics (SCM)

โดยระบบจะรวมถึง การรวบรวม การวางแผน และการจัดการของกิจกรรมทั้งหมด ที่มีความเกี่ยวข้อง กับการจัดหา       การจัดซื้อ การแปรสภาพ การประสานงาน (Coordination) และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับผู้จัดส่งวัตุดิบตัวกลาง  ผู้ให้บริการลอจิสติกส์และลูกค้า ซึ่งรวมถึงทั้ง ภายในและภายนอกบริษัท
Interface Similan SCM (Supply Chain Management)
interface-scm

ที่มา : http://botanikajr.blogspot.com/2008/03/supply-chain.html

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กรกฎาคม 13, 2013 นิ้ว Workshop 1

 

ป้ายกำกับ:

ระบบ ERP

what_erp

ERP คืออะไร

       Erp ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning ถ้าแปลตรงตัวคือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม

       ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศ ที่องค์กรสามารถนำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร กล่าวคือ ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศในองค์กรที่สามารถบูรณาการ (Integrate) รวมงานหลัก (Core Bussiness Process) ต่าง ๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคลเข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยง ณ เวลานั้นทันที (Real Time)

บทบาทของ ERP คืออะไร 

       สภาพธุรกิจที่มีขนาดใหญ่และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลทำให้เกิดการเชื่อมโยงของกิจกรรม สร้างมูลค่าให้กับลูกค้า ของแผนกต่างๆที่เกี่ยวข้อง ยาวและซับซ้อนขึ้น และเมื่อความเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆขยายใหญ่และซับซ้อนขึ้น ถ้าไม่มีระบบข้อมูลในการจัดการที่ดี โอกาสที่จะเกิดปัญหาในการรับรู้สภาพการเชื่อมโยงของกิจกรรมย่อมทำได้ยาก และผลที่ตามมาคือ ข้อมูลมากแต่ไม่รู้ว่าข้อมูลอันไหนที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจที่จะลงทุนและบริหารทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพได้ ดังนั้น ERP ก็คือ เครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในเชิงบริหารที่เกิดขึ้นดังกล่าวอีกทั้งจะช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ในการนำ ERP มาใช้     

– เกิดการปฏิรูปการทำงาน
– การเพิ่มประสิทธิภาพและความเหมาะสมให้กับกระบวนการทางธุรกิจ
– การทำให้การบริหารงานได้รวดเร็ว ไวต่อเหตุการณ์
– การลดลงของค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร

– เกิดการปฏิรูปการบริหารธุรกิจ
– ความสามารถในการรับรู้สภาพการณ์โดยรวมของการบริหารได้แบบเรียลไทม์
– ความสามารถในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้องค์กรโดยรวมมี                                                                                          ประสิทธิภาพสูงสุด

globalnetwork

– ความสามารถในการตัดสินใจได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

– เกิดการปฏิรูปวัฒนธรรมและวิถีขององค์กร

– การเป็นตัวเองและความกระตือรือร้นของพนักงาน

– การใช้ความสามารถของพนักงานให้เกิดผลสำเร็จ
– การใช้ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานในการบริหารองค์กรให้เกิดผลสำเร็จ

 

MRP : Material Requirement Planning

 

 

ที่มา : http://erp.rmuti.ac.th/about_information.html  
 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กรกฎาคม 11, 2013 นิ้ว Workshop 1

 

ป้ายกำกับ: